ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ข้อที่ต้องรู้
ในการดูแลผู้สูงอายุ
ผู้ดูแลควรเตรียมตัวอย่างไร
- ดูแลสุขภาพใจ
- ดูแลสุขภาพกาย
- การเตรียมอาหาร
- พื้นที่ในบ้านที่ควรระวัง
5 วิธีดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ให้สดใสร่าเริง ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า
สำหรับการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีอะไรที่ยาก หรือซับซ้อน สิ่งสำคัญ คือ ต้องอาศัยความเข้าใจในภาวะอารมณ์ของผู้สูงอายุ ต้องมีความอดทนสูง และการยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของผู้สูงอายุ ที่บางครั้งอาจจะมีอารมณ์หรือพฤติกรรมเหมือนกับช่วงวัยเด็ก เช่น การดื้อรั้น อาการขี้น้อยใจ เป็นต้น ผู้ที่ดูแลหรือบุคคลในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจหลักการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับสภาวะทางอารมณ์ขุ่นมัว ความรู้สึกเศร้า หรือเสียใจ โดยแนวทางการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
7 วิธีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
การดูแลและรับมือกับผู้สูงอายุภายในบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย และทำให้หลายคนต้องเหนื่อยใจ แต่หากเรารู้วิธีการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง เรื่องเหล่านี้จะไม่กลายเป็นปัญหารบกวนจิตใจอีกต่อไป
การเลือกและเตรียมอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
“ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะทุพโภชนาการได้ ซึ่งปัญหานี้จะชะลอหรือป้องกันได้จากการดูแลเอาใจใส่เรื่องการรับประทานอาหาร โดยผู้สูงอายุ ควรมีการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกวันและควรดูแลด้านปริมาณอาหารและลักษณะของอาหารให้เหมาะสมตามวัย
บริเวณจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง เมื่อมีผู้สูงอายุในบ้าน
ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ภายในบ้านจะต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ค่อยๆ เสื่อมถอยลง สายตาพร่ามัว มีปัญหาโรคกระดูกและข้อ ทำให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่ไม่มั่นคง ส่งผลให้การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในทุกอิริยาบถเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น ปัจจัยด้านร่างกายเหล่านี้ของผู้สูงอายุทำให้หกล้มได้ง่าย ทำให้ต้องคอยระวังสิ่งเล็กๆ น้อยๆ รอบตัว เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่และตลอดเวลา